วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรังเดิมชื่อ หมู่บ้านสะแกกรัง หมู่ 3 บ้านน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดราษฎร์
วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่าตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี
ประวัติ
หมู่บ้านสะแกกรัง สมัยสุโขทัย เรียกว่า อู่ไทย หมายถึงที่อยู่ของคนไทย เป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่าสมัยกรุงธนบุรี ย้ายเมืองอู่ไทยมาไว้ที่ที่บ้านสะแกกรัง จนกลายเป็นชุมชนเติบโตถึงปัจจุบันสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ มีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 3 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ.1243 ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2424 ณ บ้านท่าแร่ ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก ชื่อตั้วเก๊าแซ่ฉั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม ยายชื่อ แห อุปถัมภ์เลี้ยงดูพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ
ครั้นอายุย่างเข้า 8 ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ในสำนักพระอาจารย์ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า 11 ปี ยายและป้าได้พาไปฝากอยู่ในสำนักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจ.อุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว ซึ่งต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2435 รวมวัดขวิดกับวัดทุ่งแก้วเข้าด้วยกัน ตั้งชื่อว่า วัดมณีสถิตกปิตถาราม สุดถนนท่าช้างในเขตเทศบาลเมือง
พ.ศ. 2335 - 2342 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์ พระพุทธรูป องค์ที่ 1 นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2 มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี
ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่ วัดสังกัสรัตนคีรี และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์สร้างมาแล้วนาน 214 ปี
[แก้] ประดิษฐาน
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุที่ประชาชนให้ความศรัทธาและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานีเนื่อง จากเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร ของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11[แก้] ความสำคัญ
- สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่า นอกจากนั้นยังเป็นที่ประสูติของพระราชบิดาในรัชกาลที่ 1 มี พระบรมรูปของพระองค์ประดิษฐานในพลับพลาจัตุรมุขยอดเขาสะแกกรัง
- สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เป็นพระราชบิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมชื่อ ทองดี เป็นบุตร ชายของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี
- สมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ อดีตสมเด็จพระสังฆราช ประสูติที่บ้านสะแกกรัง ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมืองอุทัยธานี
ขึ้นบันได 449 ขั้น สู่ยอดเขาสะแกกรัง ซึ่งมีวัดที่สำคัญคือ วัดสังกัสรัตนคีรี ที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี คือพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ และบนยอดเขาสะแกกรังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองพร้อมพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเมืองพระชนกจักรี หรืออุทัยธานีนครแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิต
อีกไม่กี่วันก็ จะถึงวันออกพรรษาซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม 2553 เทศกาลวันออกพรรษาถือเป็นวันเวลาสำหรับการทำบุญใหญ่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยสืบเนื่องจากที่พระภิกษุสงฆ์ได้เข้าจำพรรษาในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็น ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันเข้าพรรษาที่เริ่มจากวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เมื่อจำพรรษาครบกำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็เป็นวันออกพรรษา ซึ่งจากนี้ไปพระภิกษุสงฆ์จะสามารถเดินทางไปปฏิบัติกิจของสงฆ์และพักค้างคืน ที่อื่นได้ วันออกพรรษานี้ในทางสงฆ์ยังถือเป็น " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" ซึ่งมีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิด โอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ในการว่ากล่าวตักเตือน เป็นเสมือนการเปิดใจในการรับฟังสิ่งที่ควร มิควร หลังจากการจำพรรษาร่วมกันมาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการเตือนให้พึงระวังในการประพฤติปฏิบัติตนให้สำรวมระวังกาย วาจา ใจ และดำรงตนตามวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ซึ่งการปวารณาตนให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือน ด้วยความปรารถนาดีต่อกันและนำไปปรับปรุงวัตรปฏิบัติให้เกิดความดีงามแก่ตน นั้น ผู้คนในสังคม หรือในที่ทำงานองค์กรใดจะนำไปปฏิบัติบ้างก็น่าจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง
ใน ช่วงออกพรรษาจะมีเทศกาลงานบุญที่เกี่ยวข้องมากมายจัดขึ้นในท้องที่ต่างๆทั่ว ทุกภาคของประเทศ โดยหนึ่งในงานบุญใหญ่ที่ผู้คนรู้จักกันดีก็ต้องยกให้งานประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งปีนี้จะมีการจัดงานระหว่างวันที่ 19-24 ตุลาคม โดยกิจกรรมในงานก็จะมีมากมายทั้งการแสดงแสงเสียง การแข่งขันเรือยาวประเพณีในลำน้ำสะแกกรัง และการออกร้านจำหน่ายของดีเมืองอุทัยธานี แต่วันสำคัญที่สุดของงานก็คือวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งจะเป็นวันตักบาตรเทโว ซึ่งจะเริ่มงานกันในตอนเช้าตรู่ โดยงานประเพณีตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว นั้น เขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่โดยจะมีพระภิกษุเดินบิณฑบาตเป็นแถวลงมาจากยอดเขาสะแก กรัง เป็นการจำลองการเสด็จลงจากสรวงสวรรค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามตำนานการ " ตักบาตรเทโว" หรือ "เทโวโรหนะ" ที่มีความหมายว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือชาวบ้านเรียกการตักบาตรนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" ตามความเชื่อในตำนานที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสรวงสวรรค์เพื่อ เทศนาโปรดพระพุทธมารดา และเมื่อครบกำหนด 3 เดือนในวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับลงมาจากสรวงสรรค์ พุทธศาสนิกชนก็มารอตักบาตรรับการเสด็จลงมา ซึ่งก็ได้เป็นความเชื่อที่กลายมาเป็นประเพณีตักบาตรเทโวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
การ ตักบาตรเทโวนั้นมีปฏิบัติกันมากในจังหวัดแถบภาคกลาง โดยที่จังหวัดอุทัยธานีนั้นจัดได้อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม โดยนิมนต์พระภิกษุจากทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานี มารับบิณฑบาต ซึ่งเมื่อเดินเรียงแถวลงมาจากยอดเขาตามบันไดที่มีถึง 449 ขั้น อันเป็นภาพที่สวยงามเหมือนการเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงจะนำ อาหารคาวหวานมาเข้าแถวรอตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ โดยตามประเพณีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคกลางนั้น ชาวบ้านนิยมทำข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียวข้างในมีไส้กล้วยคล้ายกับข้าวต้มมัด แต่นำมาทำปั้นรูปทรงกลมรี ปลายสอบลูกเท่ากำปั้นห่อด้วยใบข้าวโพดแล้วปล่อยให้มีปลายหางใบข้าวโพดออกมา เป็นสายใช้จับหิ้วได้ ซึ่งในตำนานเล่าว่าการตักบาตรเทโวนั้นเป็นงานบุญใหญ่ที่มีผู้คนแห่แหนไป ทำบุญกันเป็นจำนวนมาก จนแทบจะเข้าไปไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ชาวบ้านจึงทำเป็นขนมลูกโยน มาเพื่อสะดวกในการโยนลงภาชนะกระบุง กระจาดที่ทางมัคนายกแห่มารับถวายของตามแถวพระภิกษุสงฆ์ ใครที่ยังไม่เคยไปร่วมงานบุญตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานี ออกพรรษาปีนี้ก็ลองหาโอกาสไปร่วมทำบุญกัน
ใน ช่วงออกพรรษาจะมีเทศกาลงานบุญที่เกี่ยวข้องมากมายจัดขึ้นในท้องที่ต่างๆทั่ว ทุกภาคของประเทศ โดยหนึ่งในงานบุญใหญ่ที่ผู้คนรู้จักกันดีก็ต้องยกให้งานประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งปีนี้จะมีการจัดงานระหว่างวันที่ 19-24 ตุลาคม โดยกิจกรรมในงานก็จะมีมากมายทั้งการแสดงแสงเสียง การแข่งขันเรือยาวประเพณีในลำน้ำสะแกกรัง และการออกร้านจำหน่ายของดีเมืองอุทัยธานี แต่วันสำคัญที่สุดของงานก็คือวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งจะเป็นวันตักบาตรเทโว ซึ่งจะเริ่มงานกันในตอนเช้าตรู่ โดยงานประเพณีตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว นั้น เขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่โดยจะมีพระภิกษุเดินบิณฑบาตเป็นแถวลงมาจากยอดเขาสะแก กรัง เป็นการจำลองการเสด็จลงจากสรวงสวรรค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามตำนานการ " ตักบาตรเทโว" หรือ "เทโวโรหนะ" ที่มีความหมายว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือชาวบ้านเรียกการตักบาตรนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" ตามความเชื่อในตำนานที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสรวงสวรรค์เพื่อ เทศนาโปรดพระพุทธมารดา และเมื่อครบกำหนด 3 เดือนในวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับลงมาจากสรวงสรรค์ พุทธศาสนิกชนก็มารอตักบาตรรับการเสด็จลงมา ซึ่งก็ได้เป็นความเชื่อที่กลายมาเป็นประเพณีตักบาตรเทโวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
การ ตักบาตรเทโวนั้นมีปฏิบัติกันมากในจังหวัดแถบภาคกลาง โดยที่จังหวัดอุทัยธานีนั้นจัดได้อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม โดยนิมนต์พระภิกษุจากทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานี มารับบิณฑบาต ซึ่งเมื่อเดินเรียงแถวลงมาจากยอดเขาตามบันไดที่มีถึง 449 ขั้น อันเป็นภาพที่สวยงามเหมือนการเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงจะนำ อาหารคาวหวานมาเข้าแถวรอตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ โดยตามประเพณีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคกลางนั้น ชาวบ้านนิยมทำข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียวข้างในมีไส้กล้วยคล้ายกับข้าวต้มมัด แต่นำมาทำปั้นรูปทรงกลมรี ปลายสอบลูกเท่ากำปั้นห่อด้วยใบข้าวโพดแล้วปล่อยให้มีปลายหางใบข้าวโพดออกมา เป็นสายใช้จับหิ้วได้ ซึ่งในตำนานเล่าว่าการตักบาตรเทโวนั้นเป็นงานบุญใหญ่ที่มีผู้คนแห่แหนไป ทำบุญกันเป็นจำนวนมาก จนแทบจะเข้าไปไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ชาวบ้านจึงทำเป็นขนมลูกโยน มาเพื่อสะดวกในการโยนลงภาชนะกระบุง กระจาดที่ทางมัคนายกแห่มารับถวายของตามแถวพระภิกษุสงฆ์ ใครที่ยังไม่เคยไปร่วมงานบุญตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานี ออกพรรษาปีนี้ก็ลองหาโอกาสไปร่วมทำบุญกัน
นอกจาก วัดวาอาราม วิถีชีวิตผู้คนในลุ่มแม่น้ำสะแกกรังแล้ว อุทัยธานียังมีธรรมชาติให้คนรักธรรมชาติชื่นชม เช่นการเข้าไปศึกษาธรรมชาติที่ผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง หรือแวะไปชมสภาพป่าดึกดำบรรพ์ที่หุบป่าตาด ก็ล้วนน่าสนใจ และที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานีก็คือ อุทัยธานีนั้นเป็นเมืองอาหารอร่อย โดยเฉพาะอาหารประเภทกุ้ง ปลา สดๆจากแม่น้ำ เพราะอุทัยธานีมีแม่น้ำสำคัญสองสายไหลผ่านคือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแก กรัง อุทัยธานีจึงเป็นเมืองปลาที่อุดมสมบูรณ์ จนมีปลาแรดเป็นสัญลักษณ์ ชาวบ้านริมแม่น้ำมีอาชีพทางการเกษตรและหาปลา เลี้ยงปลาในกระชัง จึงมีปลาสดนานาชนิดให้ชิมกันมากมาย ประกอบกับการปรุงอาหารรสชาติแบบพื้นบ้านที่เข้มข้น ถึงรสชาติตามแบบฉบับของชาวอุทัยธานี ร้านอาหารประเภทเรือนแพริมน้ำส่วนใหญ่ในอุทัยธานีจึงมักไม่ทำให้คนชอบกินปลา ผิดหวัง ผมขึ้นต้นด้วยการชวนไปเที่ยววัดไปตักบาตรทำบุญ แต่มาลงท้ายด้วยการชวนชิมอาหารประเภทปลาซึ่งดูออกจะขัดๆกันสักนิด แต่ก็นำมาเรียนให้ทราบกันไว้ในข้อมูลทุกๆด้าน ส่วนท่านจะเลือกแวะไปเที่ยว แวะไปทำบุญ แวะไปชม แวะไปชิมที่ไหนอย่างไร ก็แล้วแต่ความชอบและอัธยาศัยของแต่ละท่าน อุทัยธานีเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ ที่ใช้เวลาขับรถราว 2 ชั่วโมงแค่นี้ หากมีเวลาว่าก็ลองแวะเวียนไปเที่ยวชมกันครับ
แผนที่
View วัดสังกัสรัตนคีรี in a larger map
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น