Right Up Corner

ad left side

วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทะเลสาบหนองหาน สกลนคร

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99







ทะเลสาบหนองหาน หรือ หนองหาน เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และใหญ่เป็นอันดับ 2 (รองจาก บึงบอระเพ็ด) ของประเทศ[1] ตั้งอยู่บริเวณ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่กว่า 77,000 ไร่ ความลึกเฉลี่ยประมาณ 2.0-10.0 เมตร เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด นกน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของประเทศไทย สันนิษฐานว่า เกิดจากการยุบตัว ของแผ่นเปลือกโลก อันเนื่องมาจากการถูกชะล้าง ของชั้นหินเกลือใต้ดิน จนเกิดโพรงขนาดใหญ่ และเกิดการพังทลาย ยุบตัวลงเป็นหนองน้ำในเวลาต่อมา ตามคติความเชื่อของ ชาวสกลนคร หนองหาน คือ ผลจากการกระทำ ของพญานาค สืบเนื่องมาจากการกระทำ อันผิดทำนองคลองธรรม ของชาย-หญิง ในตำนานผาแดง นางไอ่
ทะเลสาบหนองหาน ประกอบ เกาะน้อยใหญ่ มากกว่า 30 เกาะ เกาะที่ขนาดใหญ่ที่สุดคือ เกาะดอนสวรรค์ โดยจะมีวัดโบราณ ภายในเกาะ สำหรับผู้ที่ต้องการเที่ยวชม ทัศนียภาพ น้ำใส สาหร่ายสีทอง นกน้ำ ปลา นานาพันธุ์ และวิถีชีวิต ของชาวประมงหนองหาน

ตำนานหนองหาน
ครั้งหนึ่ง ยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ "นครเอกชะทีตา" มีพระยาขอม
เป็นกษัตริย์ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวย
นามว่า "นางไอ่คำ" ซึ่งเป็นที่รักและ หวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้น
ให้ อยู่พร้อมเหล่าสนม กำนัล คอยดูแลอย่างดี

ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ "เมืองผาโพง" มีเจ้าชายนามว่า "ท้าวผาแดง" เป็นกษัตริย์ปกครองอยู่ ท้าวผาแดง
แห่งเมืองผาโพง ได้ยินกิตติศัพท์ความงามของธิดาไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจร ถึง นครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบเข้าไปให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันกันมาแต่ชาติ ปาง ก่อนนางไอ่คำกับท้าวผาแดง จึงได้มีใจปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้ง 2 ก็ได้อภิรมย์สมรักกัน


ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอ ทั้ง 2 ได้คร่ำครวญต่อกันด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึง
เดือน 6 เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถนระยาขอม จึงได้ประกาศบอก
ไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมา
จุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย

ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง
เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงาม
นางไอ่คำด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ

เมื่อถึงวันแข่งขันจุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ถึง 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดแตกออกเป็นเสี่ยงๆ
ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง

ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาค ที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารัก มาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ ข้างปราสาท
นางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพราน ยิงเอาตัวตายมา
ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน
คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"

จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็นอาหาร ทิพย์ ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้

พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกธรแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้า กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนี ตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่น นับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3 - 4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่าย ี่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือกจึงรอดตาย

ฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้า ม้าเท่าใด ก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำพร้อมม้าแสน
รู้ชื่อ "บักสาม" จมหายไปใต้พื้นดิน

รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมือง
เอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3 - 4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น
หนองหานหลวง ดังปรากฏในปัจจุบัน



แผนที่

View ทะเลสาบหนองหาน in a larger map

บึงบอระเพ็ด นครสวรรค์

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B9%87%E0%B8%94



บึงบอระเพ็ด (อังกฤษ:Bueng Boraphet) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยและเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ อยู่ในท้องที่สามอำเภอของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอท่าตะโก และอำเภอชุมแสง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน
เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจระเข้ จากการสำรวจพบว่ามีสัตว์อาศัยอยู่ประมาณ 148 ชนิด พืช 44 ชนิด มีพันธุ์สัตว์ที่หายากได้แก่ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (พบครั้งแรกที่บึงบอระเพ็ด) ปลาเสือตอ ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมจะมีนกเป็ดน้ำอพยพมาที่บึงแห่งนี้เป็นจำนวนมาก พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

[แก้] ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์

บึงบอระเพ็ดตั้งอยู่ ณ. ตำแหน่งภูมิศาสตร์ที่ละติจูด 15 องศา 40 ลิปดา ถึง 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ และ ลองจิจูด 100 องศา 10 ลิปดา ถึง 100 องศา 23 ลิปดาตะวันออก มีพื้นที่ประมาณ 132, 737 ไร่ หรือ 212.3792 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดนครสวรรค์ รวม 3 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ซึ่งทั้ง 3 อำเภอได้แบ่งเขตที่กลางบึงบอระเพ็ด โดยมีอาณาเขต ดังนี้
  • ทิศเหนือ ขนานไปกับคลองปลากดในเขต อำเภอชุมแสง ท้องที่ตำบล ทับกฤช มีถนนสายทับกฤช – ท่าตะโก โดยได้แบ่งพื้นที่บึงบอระเพ็ดไปส่วนหนึ่งซึ่งพื้นที่ในด้านนี้จะมีความตื้น เขินมาก และมีราษฎร บุกรุกจับจองมากที่สุด
  • ทิศตะวันออก จากปากคลองปลากดใน ถึงบ้านแหลมจันทร์ ในเขตอำเภอชุมแสงผ่านบ้านคลองบอน บ้านกระทุ่มเจ้า บ้านปากง่ามเหนือ ในเขตอำเภอท่าตะโก รวมถึงพื้นที่เขาพนมเศษ
  • ทิศใต้ อยู่ในเขตอำเภอท่าตะโก และอำเภอเมือง จะขนานไปกับถ.สายนครสวรรค์–ท่าตะโก
  • ทิศตะวันตก อยู่ในเขตตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง และ ตำบล ทับกฤช ในเขตอำเภอชุมแสงใช้ทางรถไฟเป็นขอบเขตจากสถานีรถไฟนครสวรรค์ (สถานีหนองปลิงเดิม) ถึงสถานีคลองปลากด

[แก้] ประวัติความเป็นมาและการพัฒนา

พื้นที่ของบึงบอระเพ็ดในอดีตนั้นเป็นที่ราบลุ่ม แวดล้อมไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณอันอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองเล็กๆ ไหลผ่านและประกอบไปด้วยหนองน้ำหลายแห่ง เมื่อถึงฤดูฝนจะมีน้ำทางเหนือไหลหลากทำให้บริเวณบึงบอระเพ็ดมีน้ำท่วมเป็น บริเวณกว้างจนกลายเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ทั้งพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ จระเข้ กุ้งก้ามกรามและตะพาบน้ำ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจระเข้แล้วเป็นที่เลื่องลือกันว่าบึงบอระเพ็ด มี จระเข้ชุกชุมมาก จนผู้คนที่นั่งรถไฟผ่านบึงบอระเพ็ดสามารถมองเห็นจระเข้ที่ลอยอยู่ในบึงและ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นมานอนผึ่งแดดตามชายบึงหรือบนเกาะ
ในปี พ.ศ. 2466 ดร.ฮิวจ์ เอ็ม สมิท ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการประมง กระทรวงเกษตราธิการได้ออกสำรวจบึงบอระเพ็ดและได้รายงานผลการสำรวจเมื่อวัน ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่และมีความสำคัญมากเกี่ยวกับเรื่องการ ประมง เพราะว่าเป็นแหล่งพันธุ์ปลา เป็นทำเลที่ปลาอาศัยเลี้ยงตัว วางไข่ และแพร่พันธุ์ ควรจะมีการบำรุงรักษาให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา
กระทรวงเกษตราธิการจึงได้นำเรื่องนี้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตสงวน บึง บอระเพ็ดไว้เป็นที่สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ โดยการสร้างคันกั้นน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อเก็บกักน้ำที่ระดับ 23.80 ร.ท.ก. ตลอดปี และได้รับพระบรมราชานุญาตให้ดำเนินการเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2469 การก่อสร้างทำนบกั้นน้ำและประตูระบายน้ำเริ่มจากปี พ.ศ. 2470 และเสร็จในปี พ.ศ. 2471 สามารถกักเก็บน้ำได้ตลอดปี
กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในเวลานั้นได้ประกาศกำหนดเขตบึงบอระเพ็ดไว้เป็น ที่ รักษาพืชพันธุ์ปลาน้ำจืด ในปี พ.ศ. 2471 และพิจารณาแก้ไข ในปี พ.ศ. 2473 โดยกำหนดเนื้อที่ประกาศเป็นเขตหวงห้ามไว้ประมาณ 250,000 ไร่ และต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 ถอนการหวงห้ามเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน 132,737 ไร่ 56 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอชุมแสง และอำเภอท่าตะโก ในปี พ.ศ. 2490 กระทรวงเกษตราธิการได้แบ่งเขตรักษาพืชพันธุ์ออกเป็น 2 เขต คือ
เขตที่ 1 เป็นเขตหวงห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมง โดยเด็ดขาด มีเนื้อที่ 38,850 ไร่
เขตที่ 2 เป็นเขตหวงห้ามที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมง โดยใช้เครื่องมือบางชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้ มีเนื้อที่ 93,887 ไร่ 56 ตารางวา


แผนที่

View บึงบอระเพ็ด in a larger map

กว๊านพะเยา พะเยา

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B2







กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) [1] คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง
ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่าน คดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลาย สายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คน เข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

     วัดติโลกอาราม เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา เป็นวัดที่พระเจ้าติโลกราช แห่งราชอาณาจักรล้านนา โปรดให้พระยายุทธิษถิระ เจ้าเมืองพะเยา สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2019-2029 ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ่ง
      วัดแห่งนี้เป็นชื่อวัดที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก ซึ่งถูกค้นพบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยาหรือในบริเวณหนองเต่า จากข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึก ทำให้รู้ว่าวัดนี้มีอายุเก่าแก่มากกว่า 500 ปี สร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวัดที่มีผู้ปกครองเมืองพะเยาได้สร้างถวาย เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่พระเจ้าติโลกราช ในฐานะทรงเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนา


แผนที่

View กว๊านพะเยา in a larger map

บึงสีไฟ พิจิตร

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%9F



 

บึงสีไฟ

บึงสีไฟ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจังหวัดพิจิตร โดยเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่เป็นอันดับสาม[1] หรืออันดับสี่ของประเทศ[2] รองจาก บึงบอระเพ็ด ทะเลสาบหนองหาน และ กว๊านพะเยา ตามลำดับ โดยบึงสีไฟมีเนื้อที่ 5,390 ไร่ ซึ่งลดลงมาภายหลังจากการสร้างเขื่อนสิริกิติ์ ที่เดิมบึงสีไฟมีเนื้อที่มากกว่า 10,000 ไร่ บึงสีไฟเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย
บึงสีไฟถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลในเมือง อำเภอเมือง อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดพิจิตรไปทางทิศตะวันตกเพียง 1 กิโลเมตร บึงแห่งนี้มีอาณาเขตติดต่อกับ 4 ตำบลในอำเภอเมืองพิจิตร ได้แก่ ตำบลท่าหลวง ตำบลโรงช้าง ตำบลคลองคะเชนทร์ และตำบลเมืองเก่า บึงมีความลึกเฉลี่ยประมาณ 1.5 - 2 เมตร ซึ่งถือว่าไม่ลึกมากนัก

 

ภายในบริเวณบึงสีไฟ

มีจุดที่น่าสนใจหลายแห่ง ดังนี้
  • รูปปั้นพญาชาลวัน ตามตำนานเรื่องไกรทอง ที่เล่าว่ามีจระเข้ใหญ่ ชื่อพญาชาลวัน เคยอาละวาดกินผู้คน และในที่สุดถูกไกรทองปราบลง รูปปั้นดังกล่าวตั้งอยู่ที่ด้านหน้าของบึงสีไฟ จัดสร้างเป็นอาคารขนาดย่อม มีความยาวถึง 38 เมตร กว้าง 6 เมตร สูง 5 เมตร ภายในตัวจระเข้นี้ทำเป็นห้องประชุมขนาด 25-30 ที่นั่ง และยังเป็นรูปปั้นจระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
  • สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ หรือที่นิยมเรียกกันว่า ศาลาเก้าเหลี่ยม เป็นอาคารรูปดาวเก้าแฉก ยื่นลงไปในบึงสีไฟ ภายในประกอบด้วยตู้แสดงพันธุ์ปลามากกว่า 20 ชนิด และมีการสับเปลี่ยนชนิดของปลาเป็นประจำ นอกจากนั้นตรงส่วนกลางของอาคารยังทำเป็นช่องเปิด สำหรับชมปลาในบึงสีไฟ ซึ่งมีพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ มาชุมนุมเป็นจำนวนมาก เพื่อรอกินอาหารที่นักท่องเที่ยวโปรยให้กิน สถานแสดงพันธุ์ปลาเฉลิมพระเกียรติ อยู่ในความดูแลของ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพิจิตร
  • ศาลากลางน้ำ คือศาลาที่ตั้งอยู่บนบึงสีไฟ มีทั้งหมด 4 ศาลา นักท่องเที่ยวนิยมมาให้อาหารสัตว์น้ำบนศาลาแห่งนี้ โดยเฉพาะศาลาใหญ่ และยังใช้เป็นคูหาเลือกตั้งของจังหวัดพิจิตรอีกด้วย
  • บ่อจระเข้ ในบริเวณเขตบึงสีไฟยังมีบ่อจระเข้ตั้งอยู่ด้วย โดยมีบ่อจระเข้ถึง 2 บ่อ คือ บ่อเก่า และบ่อใหม่ ซึ่งปัจจุบันบ่อจระเข้เก่าซึ่งมีขนาดเล็กได้ถูกยกเลิกการใช้งานไปแล้ว เพราะมีการสร้างบ่อจระเข้ใหม่ขึ้นมาแทนที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นในบริเวณเขตบึง สีไฟเช่นเดียวกัน
  • ภาพวาดพญาชาละวัน และภาพวาดน้ำตก เป็นงานศิลปะบนพื่นดิน เพื่อให้ถ่ายภาพให้เหมือนภาพสถานที่จริงแบบสามมิติ

แผนที่

View บึงสีไฟ in a larger map

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ สุพรรณบุรี

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4












ประวัติ

  • พ.ศ. 2525[4]
-นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรีในขณะนั้น ได้มีแผนพัฒนาหมู่บ้านรอบบังฉวากเพราะเป็นสถานที่ที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีนกนานาชนิด จึงนำเรื่องเสนอกรมป่าไม้ เพื่อให้เป็นพื้นที่เขตห้ามล้าสัตว์ป่า
-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศเรื่อง กำหนดให้พื้นที่บริเวณบึงฉวาก ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท และตำบลปากน้ำ ตำบลเดิมบาง ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยกำหนดชนิดสัตว์ป่าที่ห้ามล้าไว้ 59 ชนิด เป็นนก 58 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 1 ชนิด (นากทุกชนิดในวงศ์ย่อย)
  • พ.ศ. 2526
ตามพระราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้บึงฉวากเป็นเขตห้ามล้าสัตว์ป่าอย่างสมบูรณ์แบบ
  • พ.ศ. 2537
-นายบรรหาร ศิลปอาชา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดสุพรรณบุรี จัดทำโครงการบึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2539
-เกิดศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึง ฉวาก สังกัดสำนักงานอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจค้นคว้าวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ดำรงสายพันธุ์สัตว์ป่า พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า ปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งอาหารของสัตว์ป่า ฯลฯ
-ต่อมาได้สร้างกรงนกขนาดใหญ่และสวนสัตว์ เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจ
  • พ.ศ. 2539
ได้จัดสร้างตู้ปลา 30 ตู้ มีปลาน้ำจืดกว่า 50 ชนิด สร้างบ่อจระเข้
  • พ.ศ. 2541
ได้จัดให้เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติตามอนุสัญญาแรมซาร์ คือ เป็นพื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ น้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีน้ำขังถาวรหรือชั่วคราว ทั้งที่น้ำนิ่ง น้ำไหว ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย น้ำเค็ม น้ำลึกไม่เกิน 6 เมตร
  • พ.ศ. 2542
สร้างอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติ
  • พ.ศ. 2544
ได้ทำการเปิดให้ประชาชนเข้าชมในอุทยานผักพื้นบ้านเพื่อการยังชีพเฉลิมพระเกียรติได้เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2544
วางศิลาฤกษ์อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำหลังที่ 2 ภายในอาคารมีตู้ปลาขนาดใหญ่ 1 ตู้ ตู้ปลาขนาด 1 ตัน 30 ตู้ มีปลาน้ำจืด 60 ชนิด ปลาทะเลสวยงาม 7 ตู้
  • พ.ศ. 2546
อาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสร้างแล้วเสร็จ วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เปิดให้ประชาชนเข้าชมอาคารแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติอย่างเป็น ทางการ

แผนที่

View บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ in a larger map

yengo ad

BumQ