Right Up Corner

ad left side

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ป้อมพระจุลจอมเกล้า สมุทรปราการ












ป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นป้อมปราการทางน้ำที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อป้องกันการรุกรานจากอังกฤษและฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นชัยภูมิเหมาะสม หากมีเรือรบของข้าศึกบุกเข้ามาทางปากน้ำ ป้อมแห่งนี้สร้างเป็นป้อมปืนใหญ่แบบตะวันตก และได้ติดตั้งปืนใหญ่อาร์มสตรอง 155 มม. จำนวน 7 กระบอกเป็นอาวุธหลักของป้อม ทำให้ป้อมนี้เป็นป้อมปราการของสยามที่ทันสมัยมากที่สุดในเวลานั้น
ป้อมพระจุลจอมเกล้าได้ใช้เป็นที่ยิงต่อสู้กับเรือรบฝรั่งเศสในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 โดยมีพลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นผู้บัญชาการรบ
ปัจจุบันป้อมพระจุลจอมเกล้าขึ้นตรงกับฐานทัพเรือกรุงเทพ และได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นราชานุสรณ์และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ และกองทัพเรือได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดให้ประชาชนเข้าชมด้วย ป้อมพระจุลจอมเกล้าจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด สมุทรปราการ

[แก้] สิ่งที่น่าสนใจในป้อมพระจุลจอมเกล้า

ปืนเสือหมอบ
ปืนเสือหมอบหรือปืนใหญ่อาร์มสตรอง เป็นปืนใหญ่ขนาด 152/32 มม. สร้างโดยบริษัท เซอร์ ดับบลิวจี อาร์มสตอง (Sir W.G. Armstrong) ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อด้วยพระราชทานเงินพระคลังข้างที่ ซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ จำนวน 10 กระบอก (ติดตั้งที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าจำนวน 7 กระบอก และติดตั้งที่ป้อมผีเสื้อสมุทรจำนวน 3 กระบอก) เมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อใช้ประจำการในป้อมพระจุลจอมเกล้า ลักษณะเด่นคือปืนนี้ถูกติดตั้งในหลุมปืนโดยเฉพาะ การยกปืนเมื่อทำการยิงใช้อากาศ-น้ำมัน เมื่อยิงไปแล้วปืนจะหมอบลง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ปืนเสือหมอบ ที่รู้จักกันทั่วไป ในวิกฤติการณ์ ร.ศ. 112 ปืนเสือหมอบเหล่านี้ก็ได้ใช้การต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศสด้วย
เรือหลวงแม่กลอง
เรือหลวงแม่กลองเป็นเรือรบประเภทเรือสลุป ต่อที่อู่เรืออูรางา เมืองโยโกสุกะ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2479 ขึ้นระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2480 และปลดระวางประจำการเมื่อ พ.ศ. 2539 รวมระยะเวลาประจำการ 59 ปี นับว่าเป็นเรือรบที่ประจำการยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และเป็นเรือรบที่มีความเก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของโลก ได้ผ่านการใช้งานในหน้าที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นเรือพระที่นั่งในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา และใช้เป็นเรือฝึกของทหารเรือ ปัจจุบันกองทัพเรือได้ดำเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบไทย เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พุทธศักราช 2539 ตั้งอยู่ที่บริเวณริมน้ำปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ใกล้กับพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5
ป่าชายเลน :: ป้อม พระจุลจอมเกล้า ได้จัดสร้างสะพานชมป่าชายเลนขึ้นเมื่อ ๒๔ ธ.ค.๔๒ ซึ่งสะพานนี้สามารถใช้เดินชมนก ชมปู ปลาได้หลาย ๆ ชนิด ทั้งขณะที่ทะเลท่วมถึง และทั้งทะเลลดลง ตลอดจนได้พบภาพรากไม้ที่ยึดติดดินโผล่ขึ้นมาอย่างสวยงาม (ภาพหนังสือรอยอดีตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า) สะพานแห่งนี้ทอดยาวไปในพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณริมเขื่อนกั้นน้ำเก่าแก่ รวมยาวประมาณ ๓๐๐ เมตร มีประชาชนเข้าเยี่ยมชมทุกวัน โดยเฉพาะวันหยุดราชการจะมีผู้ไปเยี่ยมชมมากพอสมควร

แผนที่

View ป้อมพระจุลจอมเกล้า in a larger map

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เชียงใหม่







วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่ มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสาม รอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก

ที่ตั้ง : ถนนศรีวิชัย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๐๐

จุดเด่น : บันไดนาค (185 ขั้น) , เจดีย์ ,วิหาร , ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ , วัตถุมงคล

แผนที่

View วัดพระธาตุดอยสุเทพ in a larger map

วัดสังกัสรัตนคีรี วัดสะแกกรัง วัดเขาสะแกกรัง อุทัยธานี





วัดสังกัสรัตนคีรี ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรังเดิมชื่อ หมู่บ้านสะแกกรัง หมู่ 3 บ้านน้ำซึม อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดราษฎร์
วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่าตรงข้ามศาลาประชาคมจังหวัดอุทัยธานี

ประวัติ

หมู่บ้านสะแกกรัง สมัยสุโขทัย เรียกว่า อู่ไทย หมายถึงที่อยู่ของคนไทย เป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่าสมัยกรุงธนบุรี ย้ายเมืองอู่ไทยมาไว้ที่ที่บ้านสะแกกรัง จนกลายเป็นชุมชนเติบโตถึงปัจจุบัน
สมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ มีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 3 ขึ้น 11 ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ.1243 ตรงกับวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2424 ณ บ้านท่าแร่ ต.สะแกกรัง อ.เมือง จ.อุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก ชื่อตั้วเก๊าแซ่ฉั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม ยายชื่อ แห อุปถัมภ์เลี้ยงดูพระวันรัต วัดมหาธาตุฯ
ครั้นอายุย่างเข้า 8 ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ในสำนักพระอาจารย์ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า 11 ปี ยายและป้าได้พาไปฝากอยู่ในสำนักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจ.อุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว ซึ่งต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2435 รวมวัดขวิดกับวัดทุ่งแก้วเข้าด้วยกัน ตั้งชื่อว่า วัดมณีสถิตกปิตถาราม สุดถนนท่าช้างในเขตเทศบาลเมือง
พ.ศ. 2335 - 2342 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์ พระพุทธรูป องค์ที่ 1 นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2 มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี
ต่อมาเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ที่ วัดสังกัสรัตนคีรี และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร พร้อมกับถวายนามว่า พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์สร้างมาแล้วนาน 214 ปี

[แก้] ประดิษฐาน

ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุที่ประชาชนให้ความศรัทธาและศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานีเนื่อง จากเมื่อยุบวัดขวิดไปรวมกับวัดทุ่งแก้ว จึงได้ย้ายพระพุทธรูปพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ไปไว้ที่วัดสังกัสรัตนคีรี และได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในพระเศียร ของพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 11

[แก้] ความสำคัญ

ขึ้นบันได 449 ขั้น สู่ยอดเขาสะแกกรัง ซึ่งมีวัดที่สำคัญคือ วัดสังกัสรัตนคีรี ที่ประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมืองอุทัยธานี คือพระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์  และบนยอดเขาสะแกกรังประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองพร้อมพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกนาถ แห่งรัชกาลที่ 1 เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของเมืองพระชนกจักรี หรืออุทัยธานีนครแห่งวัฒนธรรมและวิถีชีวิต

อีกไม่กี่วันก็ จะถึงวันออกพรรษาซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม 2553 เทศกาลวันออกพรรษาถือเป็นวันเวลาสำหรับการทำบุญใหญ่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย โดยสืบเนื่องจากที่พระภิกษุสงฆ์ได้เข้าจำพรรษาในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งเป็น ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันเข้าพรรษาที่เริ่มจากวันแรม 1 ค่ำเดือน 8 เมื่อจำพรรษาครบกำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ก็เป็นวันออกพรรษา ซึ่งจากนี้ไปพระภิกษุสงฆ์จะสามารถเดินทางไปปฏิบัติกิจของสงฆ์และพักค้างคืน ที่อื่นได้ วันออกพรรษานี้ในทางสงฆ์ยังถือเป็น " วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา" ซึ่งมีความหมายว่าพระภิกษุทั้งหลายทั้งพระผู้ใหญ่และพระผู้น้อยต่างเปิด โอกาสอนุญาตแก่กันและกัน ในการว่ากล่าวตักเตือน เป็นเสมือนการเปิดใจในการรับฟังสิ่งที่ควร มิควร หลังจากการจำพรรษาร่วมกันมาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อเป็นการเตือนให้พึงระวังในการประพฤติปฏิบัติตนให้สำรวมระวังกาย วาจา ใจ และดำรงตนตามวัตรปฏิบัติที่ดีงาม ซึ่งการปวารณาตนให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือน ด้วยความปรารถนาดีต่อกันและนำไปปรับปรุงวัตรปฏิบัติให้เกิดความดีงามแก่ตน นั้น ผู้คนในสังคม หรือในที่ทำงานองค์กรใดจะนำไปปฏิบัติบ้างก็น่าจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง
     
       ใน ช่วงออกพรรษาจะมีเทศกาลงานบุญที่เกี่ยวข้องมากมายจัดขึ้นในท้องที่ต่างๆทั่ว ทุกภาคของประเทศ โดยหนึ่งในงานบุญใหญ่ที่ผู้คนรู้จักกันดีก็ต้องยกให้งานประเพณีตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งปีนี้จะมีการจัดงานระหว่างวันที่ 19-24 ตุลาคม โดยกิจกรรมในงานก็จะมีมากมายทั้งการแสดงแสงเสียง การแข่งขันเรือยาวประเพณีในลำน้ำสะแกกรัง และการออกร้านจำหน่ายของดีเมืองอุทัยธานี แต่วันสำคัญที่สุดของงานก็คือวันที่ 24 ตุลาคม ซึ่งจะเป็นวันตักบาตรเทโว ซึ่งจะเริ่มงานกันในตอนเช้าตรู่ โดยงานประเพณีตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว นั้น เขาจัดกันอย่างยิ่งใหญ่โดยจะมีพระภิกษุเดินบิณฑบาตเป็นแถวลงมาจากยอดเขาสะแก กรัง เป็นการจำลองการเสด็จลงจากสรวงสวรรค์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามตำนานการ " ตักบาตรเทโว" หรือ "เทโวโรหนะ" ที่มีความหมายว่าการหยั่งลงจากเทวโลก หรือชาวบ้านเรียกการตักบาตรนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" ตามความเชื่อในตำนานที่พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสรวงสวรรค์เพื่อ เทศนาโปรดพระพุทธมารดา และเมื่อครบกำหนด 3 เดือนในวันออกพรรษา พระพุทธเจ้าก็เสด็จกลับลงมาจากสรวงสรรค์ พุทธศาสนิกชนก็มารอตักบาตรรับการเสด็จลงมา ซึ่งก็ได้เป็นความเชื่อที่กลายมาเป็นประเพณีตักบาตรเทโวสืบมาจนถึงปัจจุบัน
     
       การ ตักบาตรเทโวนั้นมีปฏิบัติกันมากในจังหวัดแถบภาคกลาง โดยที่จังหวัดอุทัยธานีนั้นจัดได้อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม โดยนิมนต์พระภิกษุจากทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานี มารับบิณฑบาต ซึ่งเมื่อเดินเรียงแถวลงมาจากยอดเขาตามบันไดที่มีถึง 449 ขั้น อันเป็นภาพที่สวยงามเหมือนการเสด็จลงมาจากสรวงสวรรค์ ซึ่งพุทธศาสนิกชนจากทั่วทุกอำเภอในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดใกล้เคียงจะนำ อาหารคาวหวานมาเข้าแถวรอตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ โดยตามประเพณีพื้นบ้านดั้งเดิมของภาคกลางนั้น ชาวบ้านนิยมทำข้าวต้มมัด และข้าวต้มลูกโยน ซึ่งทำจากข้าวเหนียวข้างในมีไส้กล้วยคล้ายกับข้าวต้มมัด แต่นำมาทำปั้นรูปทรงกลมรี ปลายสอบลูกเท่ากำปั้นห่อด้วยใบข้าวโพดแล้วปล่อยให้มีปลายหางใบข้าวโพดออกมา เป็นสายใช้จับหิ้วได้ ซึ่งในตำนานเล่าว่าการตักบาตรเทโวนั้นเป็นงานบุญใหญ่ที่มีผู้คนแห่แหนไป ทำบุญกันเป็นจำนวนมาก จนแทบจะเข้าไปไม่ถึงพระที่มารับบิณฑบาต ชาวบ้านจึงทำเป็นขนมลูกโยน มาเพื่อสะดวกในการโยนลงภาชนะกระบุง กระจาดที่ทางมัคนายกแห่มารับถวายของตามแถวพระภิกษุสงฆ์ ใครที่ยังไม่เคยไปร่วมงานบุญตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานี ออกพรรษาปีนี้ก็ลองหาโอกาสไปร่วมทำบุญกัน
       นอกจากการตักบาตรเทโวที่วัดสังกัสรัตนคีรีแล้ว ในประเพณีตักบาตรเทโวของจังหวัดอุทัยธานีปีนี้ก็ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีก หลายอย่าง เช่น การตักบาตรทางน้ำที่ลำน้ำสะแกกรัง ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญของจังหวัดอุทัยธานีที่ยังคงมีบรรยากาศเรือนแพและ บ้านเรือนริมน้ำตามวิถีดั้งเดิมแบบไทยๆให้เที่ยวชม ยิ่งมีการพายเรือบิณฑบาตด้วยแล้ว น่าจะเป็นภาพที่สวยงามยิ่งซึ่งจะหาดูได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการแข่งเรือพื้นบ้าน อาทิ เรือหัวใบ้ท้ายบอด การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแสดง แสง เสียง ณ บริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี ให้เที่ยวชมกัน เมื่อร่วมบุญร่วม กิจกรรมตามประเพณีแล้ว ก็น่าที่จะแวะไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจของจังหวัดอุทัยธานี เช่นแวะไปเที่ยวชมวัดท่าซุง หรือวัดจันทาราม ที่ตั้งอยู่ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง ซึ่งเป็นวัดที่สร้างมาตั้งแต่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง โดยในอดีตที่ยังมีการล่องซุง ท่าน้ำหน้าวัดมักเป็นที่จอดแพซุงที่ล่องผ่าน จึงเรียกกันว่าวัดท่าซุง ซึ่งวัดนี้แต่เดิมมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่เมื่อหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระเกจิอาจารย์นักปฏิบัติชื่อดังที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายมาจำพรรษาที่นี่ และได้พัฒนาวัดแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของ ผู้คนทั่วประเทศ ท่านได้ทำการขยายพื้นที่ของวัดออกไปอย่างกว้างขวาง ได้ก่อสร้างโบสถ์ วิหาร และอาคารภายในวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามยิ่งใหญ่อลังการ โดยเฉพาะวิหารแก้วที่ประดับด้วยโมเสกกระจกเงาชิ้นเล็กๆจำนวนมากมาย วิหารทั้งหลังที่มีความยาว 100 เมตรจึงงดงามแวววาวราวกับประดับด้วยแก้วมณี ถ้าไปอุทัยธานีมีเวลาและมีโอกาสก็อย่างพลาดแวะไปเที่ยวชม
     
       นอกจาก วัดวาอาราม วิถีชีวิตผู้คนในลุ่มแม่น้ำสะแกกรังแล้ว อุทัยธานียังมีธรรมชาติให้คนรักธรรมชาติชื่นชม เช่นการเข้าไปศึกษาธรรมชาติที่ผืนป่ามรดกโลกห้วยขาแข้ง หรือแวะไปชมสภาพป่าดึกดำบรรพ์ที่หุบป่าตาด ก็ล้วนน่าสนใจ และที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานีก็คือ อุทัยธานีนั้นเป็นเมืองอาหารอร่อย โดยเฉพาะอาหารประเภทกุ้ง ปลา สดๆจากแม่น้ำ เพราะอุทัยธานีมีแม่น้ำสำคัญสองสายไหลผ่านคือแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสะแก กรัง อุทัยธานีจึงเป็นเมืองปลาที่อุดมสมบูรณ์ จนมีปลาแรดเป็นสัญลักษณ์ ชาวบ้านริมแม่น้ำมีอาชีพทางการเกษตรและหาปลา เลี้ยงปลาในกระชัง จึงมีปลาสดนานาชนิดให้ชิมกันมากมาย ประกอบกับการปรุงอาหารรสชาติแบบพื้นบ้านที่เข้มข้น ถึงรสชาติตามแบบฉบับของชาวอุทัยธานี ร้านอาหารประเภทเรือนแพริมน้ำส่วนใหญ่ในอุทัยธานีจึงมักไม่ทำให้คนชอบกินปลา ผิดหวัง ผมขึ้นต้นด้วยการชวนไปเที่ยววัดไปตักบาตรทำบุญ แต่มาลงท้ายด้วยการชวนชิมอาหารประเภทปลาซึ่งดูออกจะขัดๆกันสักนิด แต่ก็นำมาเรียนให้ทราบกันไว้ในข้อมูลทุกๆด้าน ส่วนท่านจะเลือกแวะไปเที่ยว แวะไปทำบุญ แวะไปชม แวะไปชิมที่ไหนอย่างไร ก็แล้วแต่ความชอบและอัธยาศัยของแต่ละท่าน อุทัยธานีเมืองใกล้ๆกรุงเทพฯ ที่ใช้เวลาขับรถราว 2 ชั่วโมงแค่นี้ หากมีเวลาว่าก็ลองแวะเวียนไปเที่ยวชมกันครับ

 
แผนที่

View วัดสังกัสรัตนคีรี in a larger map

วัดเขาสุกิม จันทบุรี



วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2509 ด้วยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อพระอาจารย์สมชายฐิตวิริโย โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญภาวนาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป วัดมีบริเวณกว้างขวาง อยู่สูงขึ้นไปบนเนินเขามีพื้นที่ประมาณ 3,280 ไร่ ภายในวัดมีศาสนสมบัติ ศาสนวัตถุและวัตถุโบราณล้ำค่าต่างๆ มากมาย มีการจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของ พุทธศาสนิกชนทั่วไปกว่า 20 ท่าน เช่น หลวงปูแหวน หลวงปู่วัน พระอาจารย์มั่น ฯลฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ที่ตั้งอยู่ในเขตตำบลเขาบายศรี อำเภอท่าใหม่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 20 กิโลเมตร

การเดินทางไปวัดเขาสุกิม สามารถไปได้หลายเส้นทางคือ จากถนนสุขุมวิท กม. 105 บริเวณบ้านห้วยสะท้อนมีทางแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 3322 ไปวัดเขา สุกิมเป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร หรือหากเลยแยกนี้ไปจะมีทางเข้าวัดได้อีกทางหนึ่งที่บริเวณบ้านเนินสูงเป็น ระยะทาง 16 กิโลเมตร หรืออาจใช้เส้นทางไปน้ำตกกระทิงก็ได้โดยแยกจากถนนสุขุมวิทที่บริเวณสี่แยก เขาไร่ยาเข้าไปประมาณ 7 กิโลเมตร ถึงทางแยกเลี้ยวซ้ายไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร

แผนที่

View วัดเขาสุกิม in a larger map

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สวนสัตว์สงขลา สงขลา

สวนสัตว์สงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา สวนสัตว์สงขลาเป็นสวนสัตว์ใหญ่มีรูปปั้นไดโนเสาร์และมนุษย์ดึกดำบรรพ์ให้จัด แสดงอีกด้วย และมีสัตว์ป่าหายาก เช่น ละมั่ง ช้าง กวาง เสือโคร่ง สิงโต ยีราฟ ม้าลาย นกนานาชนิด เช่น ไก่ฟ้าหน้าเขียว นกกระตั้วดูคอร์ป นกกะรางหัวหงอก นกกาเหว่า

[แก้] ประวัติ

หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น นายอำนวย สุวรรณคีรี ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายก รัฐมนตรี รับผิดชอบควบคุมดูแล องค์การสวนสัตว์ได้มีนโยบายจัดตั้งสวนสัตว์ทั่วทุกภาค สำหรับภาคใต้ ได้คัดเลือกสถานที่ที่จังหวัดสงขลา บริเวณเขารูปช้าง ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา (บ้านสวนตูล) ดำเนินการจัดตั้งสวนสัตว์ยังไม่แล้วเสร็จ เนื่องจก ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ได้ประกาศพระราชกฤษฎี การยุบสภาผู้แทนราษฎร ในปี 2531
โครงการสวนสัตว์สงขลา เป็นโครงการ 10 ปี โดยระยะแรกรัฐบาลให้เงินอุดหนุน 120 ล้านบาท โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2532-2541 มีสิ่งก่อสร้างได้ดำเนินการไปแล้ว คือ สาธารณูปโภคพื้นฐาน อาคารสำนักงาน อ่างเก็บน้ำ เรือนเพาะชำ และสถานที่จัดแสดงสัตว์ป่าชนิดต่างๆ ซึ่งปัจจุบันได้ทยอย นำสัตว์ต่างๆ เข้ามาแสดงให้ประชาชนชาวสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงได้ชม เช่น สมเสร็จ กระจก อูฐ ลามา ยีราฟ หมี เสือ ชะนี กวาง ละมั่ง เก้ง นกสวยงาม เช่น นกแก้ว นกมาร์คอว์ นกคลาสโซวารี นกฟลามิง โก และสัตว์อื่นๆอีกมากมาย
สวนสัตว์สงขลา เริ่มเก็บบัตรผ่านประตูตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2541 เป็นต้นมาและทำพิธีเปิด อย่างเป็นทางการ ในวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม 2541 โดย ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องค์ประธาน ในพิธี

แผนที่

View สวนสัตว์สงขลา in a larger map

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ชลบุรี

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นสวนสัตว์เปิดขนาดใหญ่ในจังหวัดชลบุรี สวนสัตว์เป็นบริการสาธารณะ ซึ่งรัฐพึงดำเนินการ เพื่อให้บริการแก่สังคมและประชาชนด้านต่างๆ

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2512 คณะกรรมการองค์การสวนสัตว์ได้พิจารณาเห็นว่า สวนสัตว์ดุสิต มีพื้นที่น้อยแต่ปริมาณสัตว์มากเกินสมควรทำให้สัตว์อยู่กันอย่างหนาแน่น แออัด ในสิ่งแวดล้อมที่ผิดไปจากธรรมชาติ จึงเป็นผลให้การขยายพันธุ์ของสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเชื่องช้า สัตว์ป่าที่ หายากบางชนิดไม่มีการขยายพันธุ์เลย จึงมีมติรับหลักการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเขา-เขียว และเขาชมภู่ จังหวัดชลบุรี เพื่อดำเนินการสร้างสวนสัตว์-เปิดเขาเขียวโดยทางองค์การได้ส่งเจ้าหน้าที่ ดำเนินการสำรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2516
ปี พ.ศ. 2517 องค์การสวนสัตว์ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงสถานที่ฟื้นฟูสภาพป่าก่อสร้าง อาคารต่าง ๆ ของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวและได้ระบายสัตว์จากสวนสัตว์ดุสิตมาปล่อยเลี้ยงให้ อยู่ในสภาพที่ใกล้เคียง ธรรมชาติในพื้นที่ 500 ไร่ จำนวน 10 ตัว คือ เก้ง กวางดาว เนื้อทราย และกวางป่า และได้เริ่มเปิดให้ประชาชนเข้าชมเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2521 และในปี 2527 องค์การสวนสัตว์ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ขยายเนื้อที่ดำเนินการของสวน สัตว์เพิ่มขึ้นอีก 2,500 ไร่ ซึ่งพื้นที่ส่วนขยายเพิ่มนี้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว และเขาชมภู่ รวมพื้นที่ดำเนินการ 3,000 ไร่
ปี พ.ศ. 2535 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้มีการจัดทำโครงการพัฒนาสวนสัตว์เปิดเขาเขียว เพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่สังคมอย่างกว้างขวางมากขึ้น มีระยะเวลาดำเนินงานรวม 5 ปี งบประมาณทั้งสิ้น 589.062 ล้านบาทพร้อมกันนี้ได้รับการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้น อีก 2,000 ไร่ รวมพื้นที่เป็น 5,000 ไร่

[แก้] วัตถุประสงค์ในการเปิดสวนสัตว์เขาเขียว

  • เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า สงวนพันธุ์สัตว์ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสมดุลของระบบทางธรรมชาติ
  • เพื่อเป็นการให้ความรู้ทางด้านการเรียนการศึกษา การวิจัย ค้นคว้า และการนันทนาการ
  • เพื่อให้เป็นสถานที่สำหรับพักผ่อน หย่อนใจ

[แก้] การเที่ยวชมสวนสัตว์เปิดเขาเขียว

ชมสัตว์ป่าอย่างใกล้ชิด พร้อมไนต์ซาฟารี
- เปิดเวลา 08.00 - 18.00 น.
- ค่าเข้าชม คนไทยผู้ใหญ่ 70 บาท เด็ก 15 บาท ชาวต่างชาติ 300 ชาวต่างชาติเด็ก(สูงไม่เกิน 130 ซม.) 50 บาท ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก(สูงไม่เกิน 130 ซม.) 50 บาท (ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป คนพิการ พระภิกษุสามเณร เข้าชมฟรี) มอเตอร์ไซด์ 10 บาท รถยนต์ 50 บาท รถบัส 60 บาท
- การแสดงโชว์ความสามารถของสัตว์ วันจันทร์-ศุกร์ วันละ 3 รอบ เวลา 11.00,14.00 และ 15.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันละ 4 รอบ 11.00 , 14.00, 15.30 และ 16.00 น. (ไม่ต้องเสียค่าเข้าชมเพิ่ม)
- ไนต์ซาฟารี วันละ 2 รอบ เวลา 19.00 และ 20.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท (ต้องซื้อบัตรก่อน 18.00น.)
- บริการรถกอล์ฟเช่าขับเที่ยวเล่นตามเส้นทาง ราคา 300 บาท/ชั่วโมง (รถออโต้แทรมบริการฟรี)
- สอบถามรายละเอียดและติดต่อล่วงหน้า โทร. 0-3829-8188 ,0-3829-8196 ,0-3829-8270

อยู่บริเวณเชิงเขาเขียว ห่างจากตัวเมืองศรีราชาประมาณ 25 กม. นับเป็นป่าแห่งเดียวในเมืองชลฯ และเป็นสวนสัตว์ที่มีเนื้อที่มากที่สุดในโลกกว่า 5000 ไร่ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2517 โดยฟื้นฟูสภาพป่าเขขาเขียวที่เสื่อมโทรมขึ้นใหม่ มีสัตว์ต่างๆให้ชมมากกว่า 300 ชนิด ที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่กว้างขวางซึ่งจัดสภาพธรรมชาติให้เหมาะสมแก่ อุปนิสัยของสัตว์และให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้อย่างใกล้ชิด ทั้งมีการนำชมสัตว์ในเวลากลางคืนด้วย

แผนที่

ดู สวนสัตว์เปิดเขาเขียว ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา (สวนสัตว์เขาดิน) กรุงเทพมหานคร








สวนสัตว์ดุสิต หรือ เขาดินวนา (อังกฤษ: Dusit Zoo) เป็นสวนสัตว์และสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 71 ถนนพระรามที่ 5 แขวงจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ใกล้กับสนามเสือป่าและพระที่นั่งอนันตสมาคม มีเนื้อที่ 112 ไร่กับ 277 ตารางวา

ประวัติ

สวนสัตว์ดุสิต เดิมเป็นพระราชอุทยานส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2438 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้นบริเวณที่ราบด้านตะวันออกของพระราชวังดุสิต ตามแบบอย่างของต่างประเทศที่พระองค์เคยเสด็จไปทอดพระเนตร การสร้างก่อสร้างพระราชอุทยานเริ่มด้วยการขุดสระน้ำขนาดใหญ่เป็นรูปพระ ราชหัตถเลขา พระปรมาภิไธยย่อ "จ.ป.ร." ขุดคูคลองระบายน้ำ ทำถนนเชื่อมตัดผ่านจากคลองเปรมประชากรเข้าไปโดยรอบหลายเส้นทาง ดินที่ขุดขึ้นมาได้นำมาใช้ในการถมเนินและปลูกต้นไม้ พระองค์จึงโปรดเรียกที่นี้ว่า "เขาดินวนา"
พระราชอุทยานแห่งนี้ใช้เป็นที่เสด็จประพาส เพื่อทรงเปลี่ยนพระราชอิริยาบถแต่เพียงอย่างเดียว ยังไม่มีการนำสัตว์ชนิดใดมาเลี้ยงไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราชอุทยานสวนดุสิตแห่งนี้ ถูกปล่อยทิ้งรกร้างเป็นเวลาหลายสิบปี
ใน พ.ศ. 2481 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลขอพระราชทานสวนดุสิต มาจัดตั้งเป็นสวนสัตว์และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน เพิ่มเติมจากสวนลุมพินี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ทั้งยังทรงพระราชทานกวางดาว ลูกหลานกวางดาวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากอินโดนีเซีย เมื่อครั้งเสด็จประพาสหมู่เกาะชวา เมื่อ พ.ศ. 2451 และสัตว์อื่นอีก 2-3 ชนิด จากสวนกวางบริเวณพระที่นั่งอัมพรสถาน มาเลี้ยงไว้ในเขาดินวนา ตั้งชื่อสวนสัตว์นี้ว่า "สวนสัตว์ดุสิต"
สวนสัตว์ดุสิตอยู่ในการดำเนินงานของเทศบาลนครกรุงเทพ จนมาถึง พ.ศ. 2497 จึงได้จัดตั้งองค์การสวนสัตว์ ขึ้นมาบริหารงานโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีสัตว์ป่าทั้งในและต่างประเทศ รวมกว่า 1,600 ตัว มีผู้เข้ามาใช้บริการเฉลี่ยปีละ 2.5 ล้านคน
นอกจากนี้ สวนสัตว์ดุสิต เขาดินวนา ยังเคยเป็นสถานที่แข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 4 อีกด้วย

[แก้] จำนวนสัตว์ทั้งหมดที่อยู่ในสวนสัตว์ดุสิต

สวนสัตว์ดุสิตเป็นสวนสัตว์เปิดที่อยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งภายในสวนสัตว์ประกอบไปด้วยสัตว์ป่า นานาชนิด จำนวนสัตว์ทั้งหมดรวม 1,343 ตัวแบ่งออกเป็น
  • สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 331 ตัว
  • สัตว์เลื้อยคลานจำนวน 170 ตัว
  • สัตว์ปีกมีทั้งสิ้นจำนวน 842 ตัว

แผนที่

View สวนสัตว์ดุสิต in a larger map

สวนสัตว์เชียงใหม่ เชียงใหม่







สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นสวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น. - 17.00 น. มีสัตว์อยู่ในสวนสัตว์จำนวนมาก เช่น เม่น นกยูง เสือโคร่ง เสือขาว กวาง แรด ฮิปโปเตมัส ช้าง หมี อีเห็น และยังมีส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ช่วงช่วง และ หลินฮุ่ย จากประเทศจีน ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีโบราณสถานที่ชื่อว่าวัดกู่ดินขาว ที่เป็นซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเวียงเจ็ดลิน และมีการแสดงความสามารถของสัตว์ เช่น นกมาคอลว์ นาก นกกระทุง และมีส่วนจัดแสดงเพนกวินและแมวน้ำ

ประวัติ

สวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาว อเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493 - 2496) โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือ บ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี นิมมานเหมินท์ (พ.ศ. 2431 - 2508) และนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (พ.ศ. 2437 - 2524) เป็นสถานที่เริ่มต้น โดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2495 โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแล
นายฮาโรลด์ เมสัน ยัง เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันเกิดที่รัฐฉาน ประเทศพม่าเคย ทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ดินแดนของชาวไต ซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นายฮาโรลด์ ต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดน ในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามสนธิสัญญาไทย - อเมริกัน 3 ฉบับ คือ
  1. ความตกลงทางการศึกษาและวัฒนธรรม ในเดือนกรกฎาคม 2493
  2. ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิค ในเดือนกันยายน 2493
  3. ความตกลงทางการช่วยเหลือทางทหาร ในเดือนตุลาคม 2493
ผลปรากฏว่าหลังจากปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ จัดส่ง คณะที่ปรึกษา อาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก เฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหารมาประจำประเทศไทยในปี พ.ศ. 2493 ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯ ขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ก็ ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุน ผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย (Sea Supply Corporation) การเข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัททางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วย
การสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆ และคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้นคงทำให้พื้นที่อันสวย งามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยาย
จากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ทายาทคนหนึ่งของ นาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้นายฮาโรลด์ ผู้เช่าบ้านเวฬุวัน ย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกันซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วน หนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นายฮาโรลด์เป็นชาวอเมริกัน ประชาชนของประเทศที่มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลก เขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวนเชิงดอยสุเทพต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดย ตรง จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพประมาณ 60 ไร่ เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ. 2500 จนกระทั่งนายฮาโรลด์ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2518
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 สวนสัตว์จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา เนื่องนับถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีอายุครบ 10 ปีเต็ม ในรอบทศวรรษนั้น สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิมที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นายฮา โรลด์ จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ 60 ไร่ ได้รับการขยายเป็น 130 ไร่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่งโดยมี ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์ชียงใหม่
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยันชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือ ส่วนหนึ่งของ เวียงเจ็ดลิน เวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 8 (พ.ศ. 1945 - 1984) ร่องรอยคูน้ำ คันดินบางส่วนก็ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันซากอิฐจำนวนไม่น้อย ยังคงปรากฏทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนินเหนือที่เลี้ยงช้าง เป็นกองอิฐก้อนใหญ่มาก เป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานวัดกู่ดินขาวในปัจจุบัน)


แผนที่

View สวนสัตว์เชียงใหม่ in a larger map

yengo ad

BumQ