Right Up Corner

ad left side

วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วัดเขาทุเรียน นครนายก

"อุทยานสวนพุทธะ" ที่ร่มรื่นเงียบสงบ ด้วยบรรยากาศที่สมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ จากนั้นยังเยี่ยมชมห้องน้ำ ห้องสุขา ติดแอร์ สะอาดถูกสุขอนามัยที่ตกแต่งหรูหราสไตล์รีสอร์ต โดยเฉพาะห้องปัสสาวะชายใช้ระบบเลเซอร์ที่ทันสมัย

เมื่อปี 2545 ทางจังหวัดได้มอบเกียรติให้ "วัดเขา ทุเรียน" เป็นสถานที่ตัวอย่างด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ปี 2546 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลือกวัดเขาทุเรียนเป็น วัดในโครงการวัดละ 1 ตำบล

แผนที่

View วัดเขาทุเรียน นครนายก in a larger map

อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง นราธิวาส





เนื่องจาก พื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง ประกอบด้วยพื้นที่ 3 ส่วน คือ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีลักษณะพื้นที่เป็นหาดทรายติดกับชายทะเลและเนินเขาสูง บริเวณป่าสงวน 20% ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ ซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและแห้งแล้ง ในช่วงฤดูแล้งและบริเวณป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง สภาพพื้นที่ก็เป็นป่าพรุแต่มีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี

จากลักษณะดังกล่าว ทำให้พืชพรรณธรรมชาติและสัตว์ป่าของทั้ง 3 แห่ง มีความแตกต่างกัน ซึ่งพอจำแนกได้ดังนี้ คือ บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่บริเวณชายหาดถึงที่ลาดชันเล็กน้อยจะพบพันธุ์ไม้ประเภทป่าชายหาด ซึ่งลักษณะเป็นป่าโปร่ง ลำต้นคดงอ เนื่องจากแรงลมหรือบริเวณที่ขึ้นอยู่ เช่น ขึ้นแทรกระหว่างก้อนหินพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ รักทะเล ยอป่า พะวา หูกวาง เลือดม้า มะนาวผี กระเบาลิง จิก พลับพลา มะพลับ มะกอก พลอง สารภีทะเล หยีน้ำ ชะเมา ตีนเป็ดทะเล ปอทะเล ฯลฯ ส่วนบริเวณที่สูงขึ้นไปจะพบพันธุ์ไม้ประเภทป่าดิบแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ แอ๊ก ทังใบใหญ่ กันเกรา เตยทะเล ไทร มะคะ ตีนนก กระทุ่มบก เป็นต้น สำหรับพันธุ์ไม้ในบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาตินี้ ดร.เชาวลิตร นิยมธรรม ได้สำรวจพบ ต้นมะนาวผี (Atalantia monophylla) ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากเท่าที่เคยพบเห็นมา


โดยที่อุทยานแห่ง ชาติอ่าวมะนาว – เขาตันหยง เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนพิเศษป่าเขาตันหยง มีสภาพธรรมชาติทีอุดมสมบูรณ์ และอุทยานแห่งชาติมีอาณาเขตติดต่อกับแนวเขตพระราชฐานพระตำหนักทักษิณราช นิเวศน์ สัตว์ป่าที่อาศัยในบริเวณนี้จะเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างเขตอุทยานแห่งชาติกับ เขตพระราชฐานเพื่อหาอาหารและน้ำ สัตว์ที่สำรวจพบได้แก่ กระรอก กระแต พญากระรอก ชะมด ลิ่น เม่น ลิง ค่าง อีเก้ง งูเหลือม งูเห่า งูกะปะ ไก่ป่า เหยี่ยวแดง นกขมิ้น นอกจากนี้จะพบเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทสัตว์กีบ เช่น กวางป่า เก้ง กระจง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงปล่อยไว้เพื่อสร้างระบบนิเวศในพิ้นที่ป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าเขา ตันหยง เป็นจำนวนมากอีกด้วย

บริเวณพื้นที่ป่าสงวน 20% ของนิคมสหกรณ์บาเจาะ มีสภาพเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและแล้งในช่วงฤดูแล้งพันธุ์ไม้ที่ พบเห็นบริเวณนี้ จำแนกได้ 2 ส่วน คือ

1. บริเวณที่เป็นป่าพรุค่อนข้างสมบูรณ์ มีไม้ขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุมหนาแน่น พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ กระบุย ตีนเป็ดพรุ ช้างไห้ กระดุมผี อ้ายบ่าว กะทัง ทองบึ้ง หว้า เสม็ดแดง ชะเมา สาคู หลาวชะโอน สะเตียว หมากเขียว หมากแดง

2. บริเวณที่เป็นป่าเสม็ดซึ่งมีไม้เสม็ดขาวชนิดเดียวเป็นพื้นที่ผืนใหญ่ เนื้อที่ประมาณ 80% ของเนื้อที่ทั้งหมด เท่าที่พบเห็นและสอบถามชาวบ้านในท้องที่ พบว่าเป็นแหล่งทีอยู่ของสัตว์ป่าหลายชนิด ได้แก่ หมูป่า ชะมด ลิงกัง เสือปลา กระรอก กระแต อีเห็น เต่า ตะพาบน้ำ ตะกวด กบ เขียด ปลาดุก ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาลำพัน นกเอี้ยง นกขุนทอง นกกระปูด นกกางเขนดง นกกางเขนบ้าน งูเห่า งูจงอาง งูเขียว เป็นต้น

บริเวณป่าพรุใกล้คลองปิเหล็ง มีสภาพเป็นป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังเกือบตลอดปี เป็นป่าพรุที่มีความหนาแน่นพอสมควร พันธุ์ไม้ส่วนสำคัญได้แก่ ไม้เสม็ดขาว และจากการสอบถามชาวบ้านท้องที่ สัตว์ที่พบได้แก่ เต่า ปลาดุก ปลาช่อน ปลาหมอ ปลาลำพัน ลิง ลิ่น นาก ตะกวด อีเห็น เป็นต้น

แผนที่

View อ่าวมะนาว-เขาตันหยง in a larger map

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เขื่อนพระรามหก พระนครศรีอยุธยา

เขื่อนพระรามหก
เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย กั้นแม่น้ำป่าสัก ที่ ต. ไก่ขัน จ. พระนครศรีอยุธยา ทำพิธีเปิดเมื่อพ.ศ. 2467

แผนที่

ดู เขื่อนพระรามหก ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เขื่อนเจ้าพระยา ชัยนาท

เขื่อนเจ้าพระยา
เป็นเขื่อนทดน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย กั้นลำน้ำเจ้าพระยา ที่ ต. บางหลวง อ. สรรพยา จ. ชัยนาท เปิดใช้เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500

แผนที่

ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

yengo ad

BumQ